Page 180 - kpi17073
P. 180

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   179


                            3.5 ระบอบประชาธิปไตยในกรอบรัฐธรรมนูญห้าอำนาจของไต้หวัน ตามรัฐธรรมนูญ
                      สาธารณรัฐจีน ฉบับวันที่ 25 ธันวาคม 2490 ไต้หวันมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยใน

                      กรอบรัฐธรรมนูญห้าอำนาจ (Five Powers Constitution) ที่แบ่งแยกโครงสร้างอำนาจสูงสุดของ
                      ประเทศเป็น 5 อำนาจ (Five Yuans) คือ อำนาจนิติบัญญัติ (Legislative Yuan) อำนาจบริหาร
                      (Executive Yuan) อำนาจตุลาการ (Judicial Yuan) อำนาจสอบคัดเลือก (Examination Yuan)

                      และอำนาจควบคุม (Control Yuan) เป็นตามแนวคิดของ ดร.ซุนยัตเซน (ปรีดี เกษมทรัพย์,
                      2530, น. 164-167) ซึ่ง ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้วิเคราะห์โครงสร้าง

                      การแบ่งแยกอำนาจเป็น 5 อำนาจ (Five Yuans) ตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีนไว้ว่า “...อำนาจ
                      ทั้ง 5 ในรัฐธรรมนูญประเภทนี้ต่างประกอบด้วยอำนาจในการปกครองเป็นเอกเทศในตัว ฉะนั้น
                      ถ้าเราใช้รัฐธรรมนูญแบบห้าอำนาจในการปกครองบ้านเมือง ฝ่ายบริหารก็มีประธานาธิบดี

                      ฝ่ายนิติบัญญัติก็มีรัฐสภา ฝ่ายตุลาการก็มีผู้พิพากษา ส่วนอำนาจปราบปรามทุจริตในราชการและ
                      ฝ่ายอำนาจการสอบคัดเลือกก็มีเจ้าหน้าที่เฉพาะแต่ละส่วนล้วนแต่ทำงานเป็นเอกเทศ...”

                      (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2538, น. 59) ไต้หวันจึงจัดโครงสร้างอำนาจรัฐที่แบ่งแยกอำนาจเป็น
                      5 ฝ่ายที่เป็นอิสระเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจกันแทนที่จะเป็น 3 ฝ่ายตามทฤษฎีการแบ่งแยก
                      อำนาจของมองเตสกิเออ โดยมีประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงซึ่งมีอำนาจบริหารร่วม

                      กับนายกรัฐมนตรีที่เป็นประธานสภาบริหาร (Executive Yuan) รับผิดชอบในการสร้างนโยบาย
                      ของชาติให้องค์กรบริหาร 3 ระดับนำไปดำเนินนโยบายให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์คือ คณะมนตรีสภา

                      บริหาร (Executive Yuan Council) เป็นคณะรัฐมนตรี องค์การบริหาร (Executive Organizations)
                      ของกระทรวงและคณะกรรมาธิการต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (Subordinate
                      Departments) โดยมีสภานิติบัญญัติ (Legislative Yuan), สภาควบคุม (Control Yuan) ใช้

                      อำนาจตรวจสอบการบริหารประเทศของสภาบริหารและนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจ
                      แต่งตั้งและถอดถอนข้ารัฐการของสภาบริหาร สภาตุลาการ และสภาควบคุม รวมถึงการ

                      แก้ปัญหาขัดแย้งระหว่างอำนาจในการบริหารห้าอำนาจ (Inter-Yuans) และอำนาจพิเศษใน
                      สภาวการณ์ฉุกเฉินโดยเป็นประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ



                      4. กลไกปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐในระบอบประชาธิปไตยภายใต้
                      กรอบอำนาจจตุอธิปัตย์




                            สังคมธรรมาธิปไตยเป็นสังคมประชาธิปไตยที่ยึดถือหลักธรรมแห่งกฎหมายที่มีความถูกต้อง
                      เป็นใหญ่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยนิติรัฐตามหลักนิติธรรม ในระบบกึ่งรัฐสภา
                      ธรรมาธิปไตย (Dhrammacracy Semi-Parliamentary System) ที่ยึดหลักความเป็นสูงสุดของ

                      รัฐธรรมนูญ (Supremacy of Constitution) ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมโดยการแบ่งแยกอำนาจเป็น
                      4 ฝ่าย คือ อำนาจรัฏฐาภิบาล อำนาจนิติบัญญัติ อำนาบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งองค์อำนา

                      จอธิปัตย์ทั้ง 4 ฝ่ายที่แยกใช้อำนาจเป็นเอกเทศเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน โดยจัดตั้งสภา
                      อภิรัฐมนตรี (Supreme Council of State) เป็นองค์อำนาจอธิปัตย์ที่สี่ในฐานะสภาการแผ่นดิน
                      สูงสุดซึ่งใช้อำนาจรัฎฐาภิบาล โดยผ่านทางองค์กรตามรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญ คือ                     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                      อำนาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย อำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของ 3 องค์
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185